Burn - การเขียนแผ่น

Burn : คือการเขียนแผ่น (หรือที่บางคนจะเรียกว่า Write) เป็นการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD/DVD โดยที่ Burn จะเป็นคำที่จะใช้ในความหมายนี้บน OS X

ถ้าเราต้องการที่จะทำการ Burn ข้อมูลลงบนแผ่น CD/DVD เราสามารถทำได้เลยบน OS X โดยที่ไม่ต้องหาโปรแกรมมาเพิ่มเติมตามวิธีการด้านล่างนี้

note : ถ้าต้องการจะ Burn DVD แผ่นที่จะใช้จะต้องเป็นแผ่นแบบ DVD-R เท่านั้น - [ตรงนี้ผมเข้าใจผิดครับ drive รุ่นใหม่ ๆ burn แผ่น DVD+R ได้แล้ว-ก๊อก อาย ]

1.สร้าง Burn folder :

Picture2-1_12.jpg
เป็นวิธีที่ง่าย และเร็วมากวิธีหนึ่งในการเขียนแผ่นครับ คือคลิ๊กขวา เลือกสร้าง Burn folder แล้วลากไฟล์ที่ต้องการลงมาใน folder เพื่อเตรียม Burn ได้เลย

ข้อดี :

  • สะดวก และรวดเร็ว
  • สามารถ Burn หลาย ๆ แผ่นได้โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน หรือจะปรับเปลี่ยนก็ทำได้ไม่ยาก
  • ประหยัดพื้นที่บน HDD เพราะใน Burn Folder เก็บเฉพาะ alias หรือว่า link ไปยังไฟล์ต้นฉบับเท่านั้น

ข้อด้อย :

  • แผ่นที่ Burn ด้วยวิธีนี้อาจจะ Burn ต่อแบบ Multisession ไม่ได้ (ถ้าจะ Burn แบบ Multisession ต้องใช้ Disk Utility)

note :

  • การเขียนแผ่นผ่าน Burn folder นี้ แผ่นที่ได้ออกมาจะสามารถนำไปใช้ได้ทั้งบน Mac และ Pc ครับ
  • ดู การใช้ Burn folder ประกอบ

2.Burn Disk Image ผ่าน Disk Utility

Picture11_8.jpg

ใช้ Disk Utility สร้าง Disk Image ขึ้นมาสำหรับไฟล์ที่เราต้องการจะ Burn โดยเฉพาะ

มีข้อดีคือ :

  • กำหนดขนาดของ Disk Image ได้แน่นอน ว่าจะให้ขนาดเท่าไหร่ ทำให้โอกาสที่จะ Burn เกินความจุของแผ่นเป็นไปได้น้อยมาก
  • blank-diskimg_1.jpg
  • เลือก format ของแผ่นที่เราต้องการจะ Burn ได้ด้วยจากตรงนี้ ทำให้เราสามารถนำแผ่นที่ Burn ไปเปิดในระบบอื่นเช่น window pc ได้แบบไม่มีปัญหาครับ
  • Burn แผ่นแบบ Multisession ได้ (เขียนข้อมูลเพิ่มทีหลังได้ จนกว่าพื้นที่บนแผ่นจะเต็ม)
  • สามารถทำสำเนา CD/DVD ทั้งแผ่นได้รวมทั้งทำสำเนา Bootable Disc ต่าง ๆ ได้ด้วย (เช่น OS X Install DVD)

ข้อด้อย :

  • มีวิธีการที่ดูซับซ้อน และยุ่งยากกว่าการใช้ Burn folder หรือการสั่ง Burn โดยตรงจาก Finder

note : ดู การ Burn แผ่นจาก Disk Utility ประกอบ

3.ถ้าเป็นไฟล์ที่เราทำขึ้นบน iPhoto, iMovie, iDVD

เราสามารถที่จะส่งตรงไป Burn ลงแผ่นได้เลยจากภายในตัวโปรแกรมเอง (ส่วนมากอยู่บนคำสั่ง Share บน เมนูบาร์)

iphoto-share_0.jpg

ตัวอย่างการ Burn ลงแผ่นโดยตรงจาก iPhoto 06

4.Burn ผ่าน Finder

file-burn_1.jpg

ตอนอยู่ใน Finder

  • เลือก file/folder ที่เราต้องการ
  • ไปที่ menu bar เลือก File / Burn “แฟ้มที่เราต้องการ” to Disc..

burn-icon_1.jpg

เราสามารถนำ Burn icon มาไว้บน Finder toolbar ได้เพื่อความสะดวกครับ

ดู การ Burn แผ่นจาก Finder ประกอบ
ดู Tips : การ นำ Burn icon มาไว้บน Finder Toolbar ประกอบ

อ่านเพิ่มเติม

Mac OS X 10.5 Help : Burning CD or DVD จากหน้าเวป support บน Apple.com
Disk Burning Quick Assist จากหน้าเวป support บน Apple.com

Burn : Burning Drive และ แผ่นที่ Burn ได้ครับ [update : 27 พย.51]

ผมมีความคิดที่ว่า เราน่าจะมาแชร์ข้อมูลตรงนี้กันนะครับ เอาไว้สำหรับอ้างอิง มีจุดประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกหรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการซื้อแผ่น CD, DVD เพื่อมา burn ข้อมูลเก็บเอาไว้ โดยที่ผมจะทะยอยอัพเดทโพสนี้ให้เรื่อย ๆ ตามข้อมูลที่มีเข้ามานะครับ

MacBook

Model Details OS Drive แผ่นที่ Burn ได้ แผ่นที่มีปัญหา
MacBook รุ่นแรก Intel 2.0 GHz Core Duo
RAM 1 GB
10.5.5 MATSHITA DVD-R UJ-857
  • DVD-R ขนาด 4.7 GB : TDK
  • CD-R ขนาด 700MB/80 min : IMATION
  • CD-R ขนาด 700/80 min : Princo
  • ไม่มี

MacBook Pro

Model Details OS Drive แผ่นที่ Burn ได้ แผ่นที่มีปัญหา
MBP (mid 2007) 2.4GHz - MATSHITA DVD-R UJ-85J
  • DVD 4.7 GB : HP, TDK, Verbatim
  • DVD DL : Mitshbishi
  • DVD : Princo
MBP 2.2 GHz Core 2Duo - MATSHITA DVD-R UJ-857E
  • DVD-R, DVD-RW, CD-R : PRINCO
  • CD-R : IMATION
  • DVD+R : SONY (อ่านได้แต่ไม่ยอม burn)

iMac

Model Details OS Drive แผ่นที่ Burn ได้ แผ่นที่มีปัญหา
iMac Intel 2.66 GHz Core2Duo 10.5.5 OPTIARC DVD RW AD-5630A
  • DVD+R ขนาด 4.7GB : Anitech
  • DVD+R ขนาด 4.7 GB : Princo
  • ไม่มี

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถนำหัวข้อ (สีน้ำเงิน) นี้ไปเขียนข้อมูลประกอบแล้วโพสต่อไปได้เลย เดี๋ยวที่เหลือผมจับมารวมกันในตารางให้นะครับ

Drive : MATSHITA DVD-R UJ-857 (เป็นรุ่นของ Combe/ Supper Drive ที่เรามีในเครื่องครับ ดู note ประกอบ)
Model : MacBook รุ่นแรก
Processor : Intel 2 GHz Core Duo
RAM : 1 GB
OS : 10.5.5 (ตรงนี้ใคร Burn ผ่าน Windows ก็ให้ระบุมาด้วยก็ได้ครับ)
แผ่นที่ Burn ได้ดี (ไม่มีปัญหา) :

  • แผ่น DVD-R ขนาด 4.7GB ยี่ห้อ TDK
  • แผ่น CD-R ขนาด 700 MB/80 Min ยี่ห้อ IMATION

แผ่นที่ Burn ไม่ได้ หรือว่า Burn แล้วเสีย :

  • ไม่มี

note : วิธีดูว่าเครื่องเรามีไดร์ฟรุ่นไหน ให้เปิด System Profiler (เรียกจากใน Applications/ Utilities) แล้วเลือกหัวข้อ Disc Burning ทางด้านซ้ายมือ เราจะเห็นชื่อไดร์ฟที่เรามีครับ

optical-drive_11.jpg

สำหรับผู้ที่ต้องการจะให้ข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากที่โพสนี้ตกหน้าแรกไปแล้ว สามารถตามเข้าไปดูได้จากหัวข้อ burn disc ที่เป็น tag ทางด้านซ้ายมือครับ

การ Burn แผ่นจาก Disk Utility

ขั้นตอนการ Burn Disk Image ผ่าน Disk Utility

ใน Disk Utility เลือก File /New/ Blank Disk Image

Picture5_23.jpg

หน้าต่างกำหนดค่าของ Disk Image

Picture6_15.jpg

Volume Name : ชื่อ Volume ของ Disk Image ที่จะเห็นตอนที่ Mount บน Desktop หรือว่าเป็นชื่อของ Disk ที่อยู่ใน CD/DVD Drive ครับ

Volume Size : กำหนดขนาดของ Disk Image (เลือกเอาตามเหมาะสมครับ)
blank-diskimg.jpg
Volume Format : กำหนด Format ของ Disk Image จากตัวอย่างด้านบนผมจะ burn แผ่นนี้ไปใช้บน window pc ครับ เลยเลือก Format แบบ MS-DOS (FAT)

Encryption : เลือกว่าต้องการเข้ารหัส หรือไม่ โดยส่วนใหญ่เราตั้งค่านี้สำหรับ Disk Image ที่เราไม่ต้องการให้คนอื่นเข้าใช้งานครับ (ถ้าเลือกตรงนี้ ก่อนการเปิด Disk Image ทุกครั้งเราจะต้องใส่ Password ครับ)

Partition : เลือกรูปแบบของ partition ใน Disk Image นี้ครับ
Picture1_33.jpg

โดยทั่วไปเลือกแบบ Single partition - CD/DVD with ISO data

Image Format : เลือกว่าจะให้เขียน หรือว่าอ่านได้อย่างเดียว

จากนั้นเลือก Create ครับจะมีหน้าต่างบอกเราว่ากำลังสร้าง Disk Image

Picture7_17.jpg

หลังจากสร้าง Disk Image เสร็จแล้ว

เค้าจะ Mount อยู่บน Desktop ของเรา ให้เรา copy file/folder ที่เราต้องการลงไปในนั้นเลยครับ จากนั้นก็ใส่แผ่นเปล่าเข้าไปในเครื่อง

Picture10_7.jpg
เลือก Open Disk Utility แล้วกด OK

ใน Disk Utility

Picture11-1.jpg

  1. เลือก Disk Image ที่เราต้องการจะ Burn
  2. แล้วไปเลือกที่ปุ่ม Burn ด้านบนครับ

เข้าสู่หน้าต่างเตรียม Burn

Picture12_4.jpg

คลิ๊กที่ปุ่มลูกศรเล็ก ๆ ด้านบนขวาตามรูปครับ เพื่อดึงส่วนของรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นมา

Picture13_2.jpg

จะมีให้เราเลือก
Speed : ตั้งค่าความเร็วที่ต้องการ (ยิ้งเขียนที่ความเร็วสูง ๆ ก็มีโอกาสที่ไดร์ฟรุ่นเก่า ๆ จะอ่านไม่ได้นะครับ)

  • Erase disc before burning : สำหรับ CD/DVD แบบ RW คือจะเป็นการล้างข้อมูลเดิมบนแผ่นออกไปก่อนเขียนของใหม่ทับลงไป
  • Leave disc appendable : ตรงนี้เอาไว้ตั้งค่าสำหรับการเขียนแผ่นแบบ Multisession ครับ สำหรับผู้ที่ต้องการจะเขียนข้อมูลลงบนแผ่นนี้ต่อ จนกว่าพื้นที่บนแผ่นจะเต็ม

After Burning :เป็นการเลือกสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจาก Burn แผ่นเสร็จแล้ว

  • Verify burned data : ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกเขียนลงไปบนแผ่นว่าใช้งานได้หรือไม่
  • Eject : หลังจาก Burn เสร็จจะ Eject แผ่นออก
  • Mount on Desktop : หลังจาก Burn แผ่นเสร็จจะถูก Mount บน Desktop ของเราครับ

หลังจากเลือกทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว กด Burn เพื่อเขียนแผ่น

Picture14_3.jpg

และหลังจากเขียนแผ่นเสร็จแล้ว ถ้าเราเลือก Mount on Desktop ไว้ ก็จะเห็นแผ่นของเรา Mount ขึ้นมาบน Desktop ด้วยครับ

Picture17.jpeg

note : ชื่อแผ่นเปลี่ยนจาก low res เป็น hi res เพราะผมลืม capture หน้าจอเอาไว้ตอนที่เขียนแผ่น Low res เสร็จครับ ^^’

เสร็จแล้วครับ เราสามารถนำ Disk ที่ได้นี้ไปเปิดดูบน window pc ได้ตามที่เราต้องการแล้ว =)

การ Burn แผ่นจาก Finder

การ Burn แผ่นจาก Finder เป็นวิธีการ Burn แผ่นที่ง่ายอีกวิธีหนึ่ง เพราะสามารถทำจากใน Finder โดยตรงได้เลย เพียงแค่เลือก File/Folder ที่เราต้องการจะ Burn แล้วสั่ง File/Burn “File/Folder ที่ต้องการ” to Disc.. (ดู การนำ Burn icon มาไว้บน Finder Toolbar ประกอบ)

ข้อดี :

  • สะดวกสำหรับผู้ใช้งานส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่คุ้นเคยกับ windows pc มาก่อน เพราะวิธีการใช้งานคล้ายกัน
  • สามารถนำแผ่นที่ Burn แล้วไปเปิดบน window pc ได้

ข้อด้อย

  • กินพื้นที่บน HD ในกรณีที่เราต้องการจะทำสำเนาแยกเก็บเอาไว้ต่างหาก
  • ไม่สะดวกเวลาที่เราต้องการะจะ Burn แผ่นซ้ำกันมาก ๆ หรือหลาย ๆ version (ดู note )
  • ไม่สะดวกในการกะขนาดข้อมูลที่ต้องเขียนลงแผ่น (จริงอยู่คือมีวิธีครับ แต่ต้องสลับหน้าต่าง ไปมา ๆ ตรงนี้ทำให้ผมรู้สึกว่าเป็นข้อด้อยครับ)

note : ตรงนี้ต่างจาก Burn Folder ตรงที่ ใน Burn Folder ไฟล์ต้นฉบับจะยังอยู่ที่เดิม และมีอยู่ที่เดียวจะ update หรือว่าเปลี่ยนแปลงไฟล์ต้นทางก็ทำได้โดยง่าย เราจะไม่สับสน .. ไม่เหมือนการ Burn บน Finder ปรกติ ที่จะมี copy หลายอันจากไฟล์ต้นฉบับ จะ update หรือว่าแก้ไขกันที ก็ต้องทำหลายขั้นตอนซึ่งทำให้ “มึน” ได้ครับ

วิธี Burn แผ่นจากใน Finder

1.เลือก File/Folder ที่ต้องการ

2.จากนั้นเลือก File / Burn “File/Folder ที่ต้องการ” to Disc (หรือปุ่ม Burn บน Toolbar)

file-burn_2.jpg

3.เครื่องจะเตือนให้เราใส่แผ่นเปล่าเข้าไปพร้อมกับบอกขนาดไฟล์คร่าว ๆ

error-msg_1.jpg

4.ใส่แผ่นเข้าไปแล้วรอสักครู่ จะมีหน้าต่างมาให้เราตั้งค่าการ Burn แผ่น

burn-details_0.jpg
Disc Name : ชื่อของแผ่น
Burn Speed : ความเร็วในการเขียนแผ่น (สำหรับการเขียนแผ่นที่ความเร็วสูงสุดนั้น อาจจะอ่านไม่ได้กับไดร์ฟรุ่นเก่า)
จากนั้นเลือก Burn จะมีกล่องแสดงสถานะการ Burn แผ่นของเราขึ้นมา

burnprocess_0.jpg
เสร็จแล้ว แผ่นของเราจะถูก Mount บน Desktop ให้อัตโนมัติ

done_0.jpg

การใช้ Burn Folder

Burn Folder : เป็นหนึ่งในวิธีการ Burn ข้อมูลลงแผ่นบน OS X ครับ ที่ค่อนข้างสะดวกสำหรับการใช้งานทั่วไป แต่สำหรับมือใหม่ หรือผู้ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมาใช้ OS X อาจจะมีเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมตามนี้นะครับ

Picture2-1_10.jpg
ไอคอนของ Burn Folder จะมีสัญลักษณ์ Radioactive อยู่ตรงกลางให้เราแยกออกจาก Folder ทั่วไป

note : แผ่นที่ถูกเขียนจาก Burn Folder นี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งบน Mac และ PC

หลักการและ Concept :

คือตัว Burn Folder เองจะเป็นแค่แหล่งรวม link (alias) ไปยัง File/ Folder ต้นฉบับอีกทีเท่านั้น

Picture8_9.jpg
จากภาพนะครับ ทุก File/ Folder ที่ถูกลากเข้ามาไว้ใน Burn Folder จะถูกสร้าง alias (Shortcut-Link)ไปยังไฟล์ต้นทางอีกที โดยการ Burn แต่ละครั้งผ่าน Burn Folder นี้ไฟล์ที่จะถูก Burn จะเป็น File/Folder ต้นทางของ alias ทั้งหมดใน Burn Folder นะครับ ไม่ใช่ตัวไฟล์ที่เป็น alias ใน Burn Folder ... (อย่าเพิ่งงงนะ =P)

ซึ่งจะมีข้อดีคือ

  • ไม่เกิด File/Folder ซ้ำซ้อนขึ้นมาบนเครื่อง เพราะเราสามารถเก็บ File/Folder ต้นฉบับเอาไว้ตรงไหนก็ได้ เพียงแค่ทำ Alias มาลงใน Burn Folder เท่านั้น ประหยัดพื้นที่บน HDD เราครับ
  • และจากที่เราจะมีไฟล์ต้นทางเพียงที่เดียว เวลาเราแก้ไขเพิ่มเติมจึงทำให้ง่ายและสับสนน้อยกว่ากว่าการมีหลาย copy มากครับ
  • เราสามารถเก็บ Burn Folder นี้เอาไว้เพื่อ Burn ต่อได้อีกได้ จะสะดวกมากในกรณีที่ต้องการ Burn ข้อมูลชุดเดียวกันซ้ำ ๆ
  • note :
  • ปรกติการลากไฟล์ลงมาใน Burn Folder เค้าจะทำการสร้าง Alias ให้กับ File/Folder ต้นฉบับ เป็นปรกติ
  • ถ้าใน Folder ต้นทาง มี Alias ของ File/Folder อื่นอยู่ด้วย เวลาเรา Burn ผ่าน Burn Folder ไฟล์ต้นฉบับของ alias นั้นจะถูก Burn ลงมาในแผ่นด้วยครับ
  • ทาง Apple บอกเอาไว้ว่า การ Burn ผ่าน Burn Folder นี้สามารถนำไปเปิดกับเครื่อง window pc ได้

เราสามารถทราบขนาดของข้อมูลทั้งหมดที่เราต้องการจะ Burn ได้โดยดูจาก Status bar ด้านล่างของหน้าต่าง Burn Folder ครับ

Picture8-1_4.jpg

เอาล่ะ มาหลังจากหลักการคร่าว ๆ ของ Burn Folder แล้ว เรามาเริ่มลอง Burn ผ่าน Burn Folder กัน

สร้าง Burn Folder

Picture1_32.jpg

ให้เลือกตำแหน่งที่เราต้องการจากนั้นคลิ๊กขวา เลือก New Burn Folder เราจะได้แฟ้ม Burn Folder ใหม่มา หน้าตาแบบนี้

Picture2_1.jpeg

เริ่มย้ายไฟล์เข้ามาใน Burn Folder
Picture4_15.jpg
คลิ๊กเข้าไปใน Burn Folder ที่เราสร้างขึ้น จากนั้น ให้ลาก File/Folder ที่เราต้องการจะ Burn เข้ามาในนี้ครับ เหมือนลากไฟล์ทั่วไป

Picture3_29.jpg

แล้วเราจะได้หน้าตาของ Burn Folder แบบนี้

Picture5_22.jpg
note : สังเกตว่า ไฟล์ที่เราลากเข้ามาจะถูกทำเป็น Alias นะครับ

เมื่อพร้อมแล้ว เลือก Burn

Picture8_10.jpg
จากปุ่ม Burn ด้านบนขวาตามรูปเลยครับ

  • ถ้าเรายังไม่ใส่แผ่นเปล่าเข้าไปในเครื่อง เค้าจะเตือนเราขึ้นมา
  • ให้เราใส่แผ่นเปล่าเข้าไป แล้วจะพบหน้าต่างถามว่าเราจะทำอะไรกับแผ่นเปล่านี้ ให้เลือก Finder ครับ

insert-blankcd.jpg

หลังจากมีแผ่นเปล่าอยู่ในไดร์ฟแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

เข้าหน้าต่างกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการ Burn
Picture9_8.jpg
Disc Name : ตั้งชื่อแผ่น (จะเป็นชื่อแทนตัวแผ่นที่จะเห็นตอนใส่เข้าไปใน Optical Drive แล้ว Mount บน Desktop หรือ บน windows pc ครับ)
Burn Speed : ตั้งค่าความเร็วของการเขียนแผ่น (การเขียนแผ่นด้วยความเร็วสูง ๆ บางครั้งจะทำให้ไดร์ฟ CD/DVD บางรุ่นอ่านไม่ได้ครับ ทางทีดีคือลดความเร็วในการเขียนแผ่นลง)

จากนั้นเลือก Burn เพื่อยืนยัน แล้วจะขึ้นหน้าต่างแสดงขั้นตอนการ Burn แผ่นครับ

Picture10_6.jpg
หลังจากเสร็จแล้ว CD/DVD ที่เราเพิ่ง Burn ไปจะถูก Mount ขึ้นมาบน Desktop ให้เลย

Picture11.jpeg

เป็นอันเสร็จขั้นตอนการ Burn ผ่า่น Burn Folder ครับ =)

note : ตามาปรกติของการ Burn Folder นั้นเราจะเขียนแผ่นแบบ Multisession โดยตรงเลยไม่ได้ ต้องใช้ Disk Utility ช่วยครับ .. ประมาณว่า ให้เราสร้าง Disk Image จาก Burn Folder อีกทอดหนึ่งครับ .. ให้เราเลือก Disk Image from Folder แทน ตอนสร้าง Disk Image

การแก้ปัญหา Burn แผ่นเบื้องต้น

สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการ Burn แผ่นนะครับ จากหน้าเวป support ของ Apple มีแนะนำไว้ดังนี้

1.ถ้าแผ่นที่ใช้อยู่ Burn ไม่สำเร็จ ให้ลองแผ่นอื่น ถ้าจาก lot เดียวกันมายังไม่ได้ผล ให้ลองเปลี่ยนยี่ห้อ

2.เชคให้แน่ใจว่า Drive ที่มีอยู่ในเครื่อง สามารถเขียนแผ่นได้ (เครื่องบางรุ่นไม่สามารถเขียนได้ แต่อ่านได้อย่างเดียว เช่นพวก cd combo drive)

3.ตรวจดูหน้าแผ่น ว่ามีรอยหรือสกปรกหรือไม่ หรือว่าแผ่นมีข้อมูลอยู่ก่อนแล้วและเขียนทัับไม่ได้หรือไม่

4.ตรวจดูชนิดของแผ่น DVD ต้องเป็นแผ่นแบบ DVD-R เท่านั้นถึงจะเขียนได้ - เครื่องรุ่นใหม่ ๆ เขียนแผ่นได้ทั้ง +R,-R แล้ว

5.ถ้าเขียนแผ่นด้วยความเร็วสูงสุดแล้วมีปัญหา ให้ลองเลือกเขียนแผ่นที่ความเร็วต่ำกว่าดู

6.ถ้าเปิด app ที่ไม่ได้ใช้ทิ้งเอาไว้ ให้ปิด app นั้นไปก่อน หรือปิดทั้งหมดก็ได้ เหลือเอาไว้เฉพาะ app ที่จะใช้เขียนแผ่น

7.ตรวจดูพื้นที่ที่เหลือบน HDD เพราะการเขียนแผ่นจำเป็นที่จะต้องมีการจำลองและกินพื้นที่บางส่วนบน HDD เรา

8.Restart เครื่อง

9.Update Software ที่ใช้เขียนแผ่น

10.ถ้าเราใช้ Optical Drive แบบต่อแยกต่างหาก ให้ลองตรวจสายเชื่อมต่อว่าเป็นปรกติหรือไม่่

ที่มา
http://support.apple.com/kb/HT1152#trouble