Hardware

ส่วนนี้จะเป็นเกี่ยวกับเรื่องน่ารู้ของ Mac Hardware ทั่วไปนะครับ

เนื่องจากพอเขียนเรื่องอะไรต่าง ๆ เยอะเข้า ก็มีหัวข้อที่ไม่เกี่ยวข้องกับ OS X โดยตรงแต่มาลงที่ Hardware เสียส่วนมาก เลยเพิ่มส่วนนี้เข้ามาแล้วจับหัวข้อพวกนั้นมารวมไว้ในนี้เลย ยิ้ม

ก็ลองเลือกอ่านได้จากหัวข้อทางด้านซ้ายมือตรง How-Tos นี่เหมือนเดิมครับ หรือถ้าด้านซ้ายหัวข้อซ้อนกันจนอ่านไม่รู้เรื่อง ก็ให้เลือกจากทางด้านล่างนี้แทน

ขอให้มีความสุขในการใช้ Mac และ OS X ครับ

ก๊อก

AppleCare : รายละเอียดเบื้องต้น และวิธีการลงทะเบียน AppleCare ด้วยตนเอง [update]

update:
ผมเจอบางเว็บขาย applecare แบบถูก ๆ แล้ว link มาที่นี่ ผมอยากจะขอเขียนชี้แจงเกี่ยวกับเรื่่องนี้ไว้ดังนี้ครับ

  1. การจะซื้อ applecare ทุกครั้ง ควรจะมีกล่องมาด้วย เพราะถ้าเลข applecare ซ้ำซ้อนกันกับบุคคลอื่น ซึ่งเกิดขึ้นได้เป็นประจำจากการที่ซื้อ applecare ราคาถูก.. ทาง apple จะให้สิทธิ์การรับประกันกับผู้ที่ถือกล่อง applecare เท่านั้นครับ ส่วนเลขที่ซ้ำกันอื่น ๆ จะถือเป็นโมฆะ
  2. เว็บแมคมือใหม่.คอมนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บขาย applecare ราคาถูกที่ link มาที่นี่ในทุกกรณี ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายถ้าเกิดซื้อของถูกมาแล้วเป็นโมฆะนะครับ

AppleCare หรือชื่อเต็ม ๆ ว่า AppleCare Protection Plan เป็นการยืดอายุการรับประกันของผลิตภัณฑ์จาก Apple ที่เราซื้อมาให้ยาวนานขึ้นกว่าการรับประกันปรกติ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเป็น Mac, iPod, iPhone, เครื่อง server หรือว่า AppleCare สำหรับ softaware ที่แต่ละแบบจะมีเงื่อนไขปลีกย่อยอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน แต่โดยคร่าว ๆ แล้วเหมือนกันในเรื่องของการยืดอายุการรับประกันออกไป และเพิ่มเติมในส่วนของ support ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ครับ

ประกัน applecare for mac

สำหรับบทความนี้ ผมจะเขียนถึงเฉพาะ AppleCare for Mac (เครื่อง Desktop และ Portable) เป็นหลักนะครับ เพราะว่าในประเทศไทยรู้สึกว่าจะมี AppleCare สำหรับเครื่อง Mac เพียงอย่างเดียว

AppleCare for Mac

สำหรับเครื่อง Mac ทั้ง Desktop และ Portable ซึ่งบาง AppleCare นั้นจะครอบคลุมจอ Apple Display ที่เราซื้อพร้อมกับเครื่องเรามาด้วย(ถ้าซื้อพร้อมกัน)ครับ มีราคาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรุ่นที่ซื้อ

อายุรับประกัน

ตรงนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ผู้ใช้แมคใหม่ ๆ หลายคนสับสน ที่ถูกต้องเกี่ยวกับอายุรับประกันนะครับคือ เมื่อซื้อเครื่องใหม่มา เราจะมีประกันพื้นฐานติดเครื่อง mac มาให้ทุกเครื่องเลยเป็นระยะเวลา 1 ปี (ประกันที่เกี่ยวกับความเสียหายเนื่องจากการผลิตหรือบกพร่องของอุปกรณ์เนื่องจากการใช้งานปรกติ)

ซึ่งถ้าเราซื้อ AppleCare แล้ว เขาจะยืดอายุรับประกันออกเพิ่มจากของเดิมอีก 2 ปี รวมแล้วประกันติดเครื่องทั้งหมดจะเป็น 3 ปีครับตามภาพด้านล่างนี้ครับ

อายุ รับประกัน applecare for mac

อะไรบ้างที่รับประกัน?

จากหน้า AppleCare Protection Plans บน support.apple.com ระบุเอาไว้แบบนี้ครับ

มีอะไรมาให้ในกล่อง AppleCare?

มีอะไรในกล่อง applecare

ที่มีมาในกล่องนะครับ

  1. คู่มือเบื้องต้นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และเงื่อนไขการรับประกัน(Getting Start Guide)
  2. คู่มือการลงทะเบียน AppleCare ผ่านเว็บ
  3. แผ่นโปรแกรมวิเคราะห์สภาพเครื่องทั่วไป TechTool Deluxe

ดูเพิ่มเติมได้จาก กระทู้แก่ะกล่อง AppleCare For MacBook Pro ในห้อง review ครับ

ถ้ามีปัญหา จะติดต่อทีมงานเกี่ยวกับ AppleCare เพิ่มเติมได้จากที่ไหน?

จากในคู่มือที่มีใน AppleCare (จากกล่องที่ผมซื้อในประเทศไทย)ระบุเอาไว้แบบนี้ครับ

Thailand:
001800 4412904
Monday – Friday 9:00 am – 5:00 pm Thailand time zone*

note :
1. อายุวันรับประกันนับจากวันที่เราซื้อเครื่องมาจากร้านนะครับ นับเอาวันซื้อที่ระบุไว้ในใบเสร็จเป็นสำคัญ
2. จะซื้อ AppleCare ได้ จะต้องซื้อก่อนหมดอายุประกันปรกติใน 1 ปีแรกนะครับ(นับจากวันที่ซื้อในใบเสร็จอีกเหมือนกันครับ)


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AppleCare for Mac
http://www.apple.com/support/products/proplan.html

FAQ เกี่ยวกับ AppleCare
http://www.apple.com/support/products/faqs.html

สำหรับผู้ที่อยู่ในประเทศไทย และต้องการดูว่ามี AppleCare อะไรที่ซื้อจาก Apple Online Store ได้บ้าง ให้ดูได้ที่หน้านี้ครับ
http://store.apple.com/th/browse/home/shop_mac/mac_accessories/applecare...

AppleCare : วิธีลงทะเบียน AppleCare ด้วยตนเอง #1

update:
ผมเจอบางเว็บขาย applecare แบบถูก ๆ แล้ว link มาที่นี่ ผมอยากจะขอเขียนชี้แจงเกี่ยวกับเรื่่องนี้ไว้ดังนี้ครับ

  1. การจะซื้อ applecare ทุกครั้ง ควรจะมีกล่องมาด้วย เพราะถ้าเลข applecare ซ้ำซ้อนกันกับบุคคลอื่น ซึ่งเกิดขึ้นได้เป็นประจำจากการที่ซื้อ applecare ราคาถูก.. ทาง apple จะให้สิทธิ์การรับประกันกับผู้ที่ถือกล่อง applecare เท่านั้นครับ ส่วนเลขที่ซ้ำกันอื่น ๆ จะถือเป็นโมฆะ
  2. เว็บแมคมือใหม่.คอมนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บขาย applecare ราคาถูกที่ link มาที่นี่ในทุกกรณี ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายถ้าเกิดซื้อของถูกมาแล้วเป็นโมฆะนะครับ

บทความนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ วิธีการลงทะเบียน AppleCare for MacBook Pro ผ่านหน้าเว็บ apple.com ด้วยตนเองนะครับ คิดว่าการลงทะเบียน AppleCare สำหรับการรับประกันเครื่องแบบอื่น ๆ น่าจะมีลักษณะคล้ายกัน เนื้อหาสำหรับผู้ที่อยู่ในประเทศไทยเป็นหลัก และเนื่องจากมีภาพประกอบเยอะ ผมเลยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ตอนครับ - ก๊อก


ก่อนเริ่ม

ที่เราควรจะต้องมีก่อนที่จะลงทะเบียนนะครับ

  1. เลข Apple ID (เป็นประมาณให้เราสมัครเป็นสมาขิกเว็บ apple.com เพื่อ service หรือสิทธิอะไรหลาย ๆ อย่างจาก Apple ครับ ถ้าใครยังไม่เคยมี Apple ID มาก่อน สามารถสมัครได้ที่นี่ครับ)
  2. เลข Serial Number ของเครื่องเรา
  3. ใบเสร็จที่ระบุวันที่เราซื้อเครื่องมาจากร้านขาย Mac หรือว่า iStudio สาขาที่เราซื้อมา
  4. เลขทะเบียนของ AppleCare ที่เราได้มาในกล่อง (จะแปะอยู่กับใบคู่มือการลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บ) แบบภาพประกอบต่อไปนี้

เลขทะเบียน AppleCare

เลข Serial Number ของเครื่องเราสามารถที่จะเข้าไปดูได้จากใน System Profile ครับ (คลิ๊กที่ Apple Menu เลือก About THis Mac และเลือก More Info...) เพื่อเอาตัวเลขชุดนี้มาเก็บเอาไว้ครับ

Serial Number ของเครื่อง Mac


note :

  1. สำหรับอุปกรณ์ Apple อื่น ๆ เช่น iPod/iPhone หรือว่า Apple Display จะมีตำแหน่งของ Serial Number ไม่เหมือนกันครับ ตรวจสอบได้จากคู่มือ หรือพลิกดูด้านใต้ของตัวอุปกรณ์ หรือบนกล่องครับ
  2. หน้าตาเว็บโดยรวมของส่วน support AppleCare บนเว็บ apple.com นี้อาจจะเปลี่ยนไปในอนาคต แต่ผมคาดว่าหลักการโดยรวมน่าจะไม่ต่างกันมาก หรือ url น่าจะยังใช้กันได้ ถึง url จะถูกเปลี่ยนแต่ถ้าเรากรอก url อันเก่าที่ apple เคยใช้เพื่อ register เขาน่าจะ redirect เราไปยัง url ใหม่แทนอันเดิมครับ - จะดีที่สุด ให้ตรวจสอบจากข้อมูลที่มีมาให้ในกล่องหรือข้อมูลจากในหน้าเว็บปัจจุบัน ว่าเราต้องเข้าไปที่หน้าเว็บ url อะไรเพื่อลงทะเบียนและยึดเอาตรงนั้นเป็นหลักก็แล้วกันนะครับ
  3. บทความนี้ทำขึ้นเพื่อแสดงขั้นตอน และสิ่งที่ผู้ใช้ทั่วไปน่าจะต้องเตรียมว่าต้องทำอะไรบ้าง หรือจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เป็นแนวทางคร่าว ๆ ซึ่งในอนาคตขั้นตอนหรือว่าวิธีการลงทะเบียนอาจจะเปลี่ยนแปลงได้
  4. บทความนี้มีเนื้อหาอิงกับผู้ใช้ในประเทศไทยเป็นหลัก ผมเลยเลือกที่จะทำเกี่ยวกับการลงทะเบียนเครื่อง MacBook Pro ครับ ซึ่งในแต่ละภูมิภาค จะมี AppleCare ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน
  5. เท่าที่ผมทราบ AppleCare สามารถที่จะซื้อพร้อมกันกับเครื่อง Mac ได้เลย และให้ทางร้านช่วยลงทะเบียนให้ครับ (แต่ในความคิดผม ลงเองดีกว่าครับ ได้เห็นรายละเอียดอะไรเองด้วย และอย่างกรณีของเครื่องผม ผมพบว่า ที่ร้านยังไม่ได้ register เครื่องผมเข้าฐานข้อมูลของ Apple ครับ ผมเลยต้องลงทะเบียนเครื่องผมแยกต่างหากอีกที - เอาไว้มีเวลาจะเล่าให้อ่านกันครับ)

AppleCare : วิธีลงทะเบียน AppleCare ด้วยตนเอง #2

update:
ผมเจอบางเว็บขาย applecare แบบถูก ๆ แล้ว link มาที่นี่ ผมอยากจะขอเขียนชี้แจงเกี่ยวกับเรื่่องนี้ไว้ดังนี้ครับ

  1. การจะซื้อ applecare ทุกครั้ง ควรจะมีกล่องมาด้วย เพราะถ้าเลข applecare ซ้ำซ้อนกันกับบุคคลอื่น ซึ่งเกิดขึ้นได้เป็นประจำจากการที่ซื้อ applecare ราคาถูก.. ทาง apple จะให้สิทธิ์การรับประกันกับผู้ที่ถือกล่อง applecare เท่านั้นครับ ส่วนเลขที่ซ้ำกันอื่น ๆ จะถือเป็นโมฆะ
  2. เว็บแมคมือใหม่.คอมนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บขาย applecare ราคาถูกที่ link มาที่นี่ในทุกกรณี ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายถ้าเกิดซื้อของถูกมาแล้วเป็นโมฆะนะครับ

บทความนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ วิธีการลงทะเบียน AppleCare for MacBook Pro ผ่านหน้าเว็บ apple.com ด้วยตนเองนะครับ คิดว่าการลงทะเบียน AppleCare สำหรับการรับประกันเครื่องแบบอื่น ๆ น่าจะมีลักษณะคล้ายกัน เนื้อหาสำหรับผู้ที่อยู่ในประเทศไทยเป็นหลัก และเนื่องจากมีภาพประกอบเยอะ ผมเลยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ตอน และเนื้อหาตอนนี้เป็นตอนที่ 2/3 ครับ - ก๊อก


การลงทะเบียน AppleCare ด้วยตนเอง

ขั้นตอนที่ 1. - เข้าหน้าลงทะเบียน AppleCare จากเว็บ

เราสามารถที่จะลงทะเบียน AppleCare Protection Plan ได้ผ่าน url นี้ http://www.apple.com/support/register หรือจะเข้าเว็บ www.apple.com แล้วทำตามสองขั้นตอนด้านล่างนี้ก็ได้ครับ ให้ผลเหมือนกัน

ทางเข้า apple.com/support สำหรับ applecare

  1. หลังจากเข้า www.apple.com แล้วคลิ๊กเมนูหัวข้อ support ด้านบน
  2. จากนั้นคลิ๊ก Register and View AppleCare Agreement

เราจะถูกพามายังหน้าแรกเริ่มหรือว่าภาพรวมของ AppleCare โดยทั่วไป และจากหน้าเว็บ apple.com ตัวปัจจุบันที่ผมเขียนบทความนี้อยู่ หน้าตาจะเป็นแบบนี้ครับ

applecare overview หน้าเว็บ

ให้ดูใต้หัวข้อ Register และเลือก Register a new agreement ครับ(ตามภาพด้านบน) และเราจะเข้าสู่หน้าต้อนรับการลงทะเบียน ดังภาพต่อไปนี้ครับ

ส่วนต้อนรับ welcome applecare

คลิ๊ก continue เพื่อเข้าหน้า Sign in

ขั้นตอนที่ 2. - เข้าสู่การลงทะเบียน AppleCare ด้วย Apple ID ที่เรามี

login เข้า applecare

  1. ในกรณีที่เรามี Apple ID แล้ว ให้กรอก Apple ID และ Password ตรงนี้แล้วคล๊ิก Sign in
  2. ถ้าเราไม่เคยมี Apple ID มาก่อน ให้สมัครใหม่ด้วยการคลิ๊กตรงนี้ครับ

ขั้นตอนที่ 3. - หน้าสรุป AppleCare ที่เราลงทะเบียนเอาไว้

หลังจากที่เรา log in เข้ามาแล้ว เราจะพบกับหน้าสรุปการลงทะเบียนของ AppleCare ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เรามีภายใต้ Apple ID ที่เราใช้นะครับ ซึ่งถ้าใครยังไม่เคยลงทะเบียน AppleCare มาก่อนเลย ก็จะเจอหน้าสรุปเปล่า ๆ แบบภาพนี้

รายละเอียด applecare ของเรา

ให้คลิ๊กที่ Register an AppleCare Agreement เพื่อเข้าสู่การลงทะเบียนต่อไป

AppleCare : วิธีลงทะเบียน AppleCare ด้วยตนเอง #3

update:
ผมเจอบางเว็บขาย applecare แบบถูก ๆ แล้ว link มาที่นี่ ผมอยากจะขอเขียนชี้แจงเกี่ยวกับเรื่่องนี้ไว้ดังนี้ครับ

  1. การจะซื้อ applecare ทุกครั้ง ควรจะมีกล่องมาด้วย เพราะถ้าเลข applecare ซ้ำซ้อนกันกับบุคคลอื่น ซึ่งเกิดขึ้นได้เป็นประจำจากการที่ซื้อ applecare ราคาถูก.. ทาง apple จะให้สิทธิ์การรับประกันกับผู้ที่ถือกล่อง applecare เท่านั้นครับ ส่วนเลขที่ซ้ำกันอื่น ๆ จะถือเป็นโมฆะ
  2. เว็บแมคมือใหม่.คอมนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บขาย applecare ราคาถูกที่ link มาที่นี่ในทุกกรณี ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายถ้าเกิดซื้อของถูกมาแล้วเป็นโมฆะนะครับ

บทความนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ วิธีการลงทะเบียน AppleCare for MacBook Pro ผ่านหน้าเว็บ apple.com ด้วยตนเองนะครับ คิดว่าการลงทะเบียน AppleCare สำหรับการรับประกันเครื่องแบบอื่น ๆ น่าจะมีลักษณะคล้ายกัน เนื้อหาสำหรับผู้ที่อยู่ในประเทศไทยเป็นหลัก และเนื่องจากมีภาพประกอบเยอะ ผมเลยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ตอน และเนื้อหาตอนนี้เป็นตอนที่ 3/3 ครับ - ก๊อก


การลงทะเบียน AppleCare ด้วยตนเอง(ต่อ)

ขั้นตอนที่ 4. - เข้าสู่ขั้นตอนการลงทะเบียน AppleCare

กรอกรายละเอียดเพื่อลงทะเบียน applecare

อธิบาย

  1. ระบุประเทศ ให้เลือก Thailand หรือประเทศที่คุณอาศัยอยู่ (ถ้าไม่มีประเทศไทย ให้เลือก Show all country บรรทัดล่างสุดครับ)
  2. เลือกเงื่อนไขการรับประกัน ในที่นี้ผมเลือกเป็น AppleCare Protection Plan
  3. AppleCare Agreement Number : ตัวเลขชุดที่แปะอยู่ตรงด้านล่างของคู่มือการลงทะเบียนผ่านเว็บ
  4. Product Serial Number : ตัวเลข Serial Number ของเครื่องเราครับ

จากนั้นคลิ๊ก Continue ครับ

ขั้นตอนที่ 5. - เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการยืนยันวันที่ซื้อเครื่องดังภาพต่อไปนี้ครับ

applecare ยืนยัน วันที่ซื้อเครื่อง

ให้ระบุวันที่เราซื้อเครื่องมา ให้ตรงกับในใบเสร็จที่เรามีอยู่นะครับ จากนั้นกด continue เพื่อผ่านไป

ขั้นตอนที่ 6. - ยืนยันหน้าจอ Apple Display

applecare ประกัน apple display

ถ้าเรามีหน้าจอที่ซื้อมาพร้อมเครื่อง Mac ของเรา ให้ระบุไปตรงนี้ได้เลยนะครับ ประกันของ MacBook Pro จะครอบคลุมถึงหน้าจอด้วย(ต้องซื้อพร้อมเครื่อง) ครับจากนั้นกด continue ไป

ขั้นตอนที่ 7. - อ่านข้อตกลง

ตรงนี้จะแสดงข้อตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขการรับประกันทั่วไป สามารถอ่านได้จากตรงนี้ หรือจะอ่านจากคู่มือที่แถมมาให้ในกล่อง หรือ download ไฟล์ pdf จาก apple.com ทีหลังก็ได้ครับ

ข้อตกลง applecare for macbook pro

อธิบาย

  1. อ่านดูรายละเอียด
  2. คลิ๊กยอมรับข้อตกลง
  3. กด Agree เพื่อยืนยัน

ขั้นตอนที่ 8. - สรุปรายการ AppleCare Protection Plan ที่เราเพิ่งลงทะเบียนผ่านไป

หน้าสรุป ลงทะเบียน applecare protection plan

ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราน่าจะได้เห็นหน้าสรุปแบบนี้เพื่อเป็นการยืนยันในเบื้องต้นว่าเราสั่งลงทะเบียนอะไรไปบ้าง จากนั้นรออีเมล์ยืนยันจากทาง Apple อีกทีเป็นอันเสร็จกระบวนการครับ ซึ่งอีเมล์ยืนยันจาก Apple จะมีเนื้อหาประมาณระบุวันหมดอายุประกันของเราที่เพิ่มขึ้นอีกสองปี จากในภาพตัวอย่างที่ผมวงกลมเอาไว้ ประกันเครื่องผมจะหมดในปี 2012 ครับ

อีเมล์ยืนยัน การลงทะเบียน applecare protection plan จากทาง apple

เมื่อได้รับอีเมล์ยืนยันมาแล้ว ก็ให้ copy เก็บเอาไว้นะครับ พร้อมกับกล่อง AppleCare Protection Plan และ ใบเสร็จยืนยันการซื้อเครื่องที่เรามี เผื่อในวันข้างหน้าอาจจะมีการยืนยันข้อมูลตรงนี้ จะได้เอามาแสดงได้ เป็นการรักษาผลประโยชน์ของเรานะครับ ยิ้ม

หมดแล้วครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

Burn : แผ่นและ drive ที่ใช้ได้บน Mac รุ่นต่าง ๆ

ตารางเกี่ยวกับแผ่นที่ใช้ burn บน OS X จากผู้ใช้งานกับเครื่อง Mac รุ่นต่าง ๆ ครับ

http://macmuemai.com/content/410

Cleaning

เกี่ยวกับการทำความสะอาดเครื่อง Mac และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องครับ
เป็นจากที่ผมเขียนเอง ใช้เอง และพบเจอจากที่ต่าง ๆ เอามารวมกันนะครับ =)

วิธีทำความสะอาด Mighty Mouse แบบแก่ะเอง

คุณ Erokoku เขียนอธิบายเป็นขั้นตอนพร้อมภาพประกอบในการแก่ะ Mighty Mouse ออกมาทำความสะอาดเองครับ

http://freemac.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=29059

ปล.ตอนแก่ะก็ระวังกันนิดนะครับ ตัวเมาส์เป็นพลาสติกอาจจะแตกได้ =)

วิธีทำความสะอาด Mighty Mouse แบบไม่แก่ะ

คุณ Kann เขียนเอาไว้ใน freemac.net อธิบายวิธีทำความสะอาด Mighty Mouse แบบง่าย ๆ ไม่ต้องแก่ะเมาส์ออกครับ

http://www.freemac.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=14706

สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการทำความสะอาดคีบอร์ดโปรครับ

ไปเจอมาจากใน youtube ครับ แสดงวิธีทำความสะอาดคีบอร์ดโปรรุ่นก่อนหน้าตัวบางอันใหม่ อธิบายถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำนะครับ =)

เป็นภาษาอังกฤษแต่ดูเอาเพลิน ๆ นะครับ ตลกดี

เทคนิคไม่ลับ ในการทำความสะอาดเครื่อง Mac

บางครั้งอุปกรณ์ง่าย ๆ ก็ใช้ทำความสะอาดเครื่อง Mac สุดที่รักของเราได้ครับ =P

001.jpg

จากภาพ อุปกรณ์ที่เห็นนี้สามารถหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายกล้องทั่วไปครับ เป็นที่เป่ากับแปรงปัด ช่วยให้เราทำความสะอาดฝุ่นหรือเศษอะไรต่อมิอะไรที่คาอยู่ตามซอกของเครื่องได้ดีกว่าการใช้ผ้าเช็ดทั่วไป ในราคาอันแสนย่อมเยาครับ

002.jpg

หรือใครใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ก็แนะนำกันได้นะครับ เราลองมาแชร์กัน ยิ้มปากกว้าง

แกะ Keyboard Pro ไล่ฝูงมด

กลับมาทำงานวันแรกก็งานเข้าเลยครับ น้องที่ทำงานเจอฝูงมดเข้าไปอยู่ใน Keyboard Pro สืบไปสืบมาก็รู้ว่าเจ้าน้องคนนี้แกะห่อลูกอมแล้วยังไม่ทันได้กินลืมวางไว้บนโต๊ะทำงานก็เลยเป็นเรื่องครับ เค้าพาพวกมามากันเป็นฝูง จังหวะเดินผ่าน Keyboard คงเห็นว่าน่าอยู่หรือไงไม่ทราบ ก็เลยไม่ไปไหนเลย เลยใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดออกไปบางส่วนแต่ก็ไม่หมดครับ ยังทยอยเดินออกมาเรื่อยๆ เลยตัดสินใจ แงะแป้น Keyboard เลยครับ กะว่าเอาให้สิ้นซาก

  • Keyboard Pro ครับรุ่นนี้ทำเป็นแอ่งเลยยกขอบใสๆ โดยรอบ ส่วนอีกตัวรุ่นใหม่เป็นอลูฯ แบนๆไม่น่าจะมีปัญหา

IMGP0950.JPGIMGP0951.JPG

  • หลังจากใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดมดไปบางส่วนแล้วตัดสินใจแกะดีกว่าครับ เพราะไม่หมดซะที ทยอยออกมาเรื่อยๆ
  • สำหรับคนที่มี Keyboard ตัวเดียวก่อนแกะควรถ่ายภาพ Keyboard เอาไว้เผื่อตอนประกอบกลับด้วยนะครับจะได้ใส่กลับถูกที่
  • ภาพนี้มองเห็นความสกปรกได้จากภายนอกก่อนจะแกะเลยครับ (อันนี้ไม่น่าจะมาจากมดเป็นตัวทำ)

IMGP0948.JPG

  • เริ่มด้วยหาไขควงแบนๆ เริ่มงัดจากตัวริมสุดก่อนครับ
  • จากนั้นค่อยงัดขึ้นตรงๆ ที่ละตัว แป้น Keyboard จะหลุดอกมาได้ไม่ยากครับ งัดจนหมดทุกตัว

IMGP0954.jpg

  • หลังจากแงะจนแป้น Keyboard ออกหมดแล้วมาดูความสกปรกด้านใต้แป้นกันครับ จะเห็นลูก Max หลงอยู่ด้านในด้วยพร้อมกับคราบสกปรก

IMGP0956.jpg

  • ส่วนภาพนี้คือเจ้ามดตัวที่ดื้อๆ ไม่ยอมออกยังคงหลงเหลืออยู่ครับ

IMGP0955.jpg

  • หลังจากนั้นตัว keyboard ที่ถูกแกะแป้นพิมพ์หมดแล้วผมเอาสำลีพันก้านไม้ แล้วชุบแอลกอฮอล์ที่ใช้ล้างแผลแล้วบีบน้ำออกให้พอหมาดๆ เช็ดทุกซอกมุมจนเอี่ยมอ่องครับ
  • ส่วนตัวแป้นที่แกะออกมาจะมี 2 แบบ ที่เป็นตัวอักษรทั้งหมดจะตัวเล็ก ด้านใต้ไม่มีลวดสปริง ส่วนตัวคีย์บางตัวเช่น Return, Shift, Delete, Enter และ Space Bar ด้านใต้จะมีลวดสปริง ซึ่งถ้าสังเกตดีๆ ลวดแต่ละตัวมีขนาดไม่เท่ากัน ฉนั้นตอนแกะลวดมาเช็ดทำความสะอาด ระวังจะสลับกันครับ แนะนำให้ทำทีละตัวแล้วประกอบกลับจะดีกว่า จากภาพจะเห็นคราบฝุ่นจับตัวกันเป็นก้อนใต้แป้นครับ

IMGP0958.jpgIMGP0957.jpg

  • มาถึงตัวแป้นอักษรที่แกะออกมา ผมหาอ่างพลาสติกขนาดเท่าขันน้ำ ใส่น้ำผสมน้ำยาล้างจานเอามาแช่สักพักให้พวกฝุ่นทั้งหลายหลุดออกง่ายๆ แล้วล้างน้ำสะอาดอีก 2-3 รอบ จัดการหาผ้าสะอาดมาเช็ดทุกๆ ตัวครับจนสะอาดเอี่ยม ทิ้งไว้สักพักจนแน่ใจว่าแห้งดีแล้ว หรือจะลองจับคว่ำแล้วเคาะๆ ดูถ้ามีน้ำค้างอยู่ก็ยังไม่ควรใส่กลับเข้าไปครับ ควรจัดการจนแห้งดีแล้วก็เริ่มประกอบกลับเข้าที่เดิมครับ โดยอาศัยดูจาก Keyboard ตัวอื่น หรือรูปที่เราถ่ายไว้ จะได้ไม่ผิด
  • วิธีใส่กลับก็ง่ายครับ แค่วางให้ตรงช่องแล้วกดลงไปตรงๆ จะมีเสียงคลิ๊ก เป็นการล็อกของแป้นตัวอักษร
  • สำหรับแป้นบางตัวที่ไม่ใช่ตัวหนังสือ จะทำให้เราสับสนว่าหันไปทางด้านไหนกันแน่เช่น ตัวลูกศร ให้ลองสังเกตที่ขอบด้านใต้จะมีตุ่มนูนๆ ขึ้นมาทุกตัว อันนั้นคือให้หันตุ่มนั้นอยู่ด้านบนครับ
  • ส่วนตัวแป้นที่ด้านใต้มีลวดสปริงการใส่กลับจากยากกว่าเล็กน้อย คือต้องเอาขาของลวดทั้ง 2 ข้าง วางเข้าไปตรงช่องรับขาลวดก่อนจึงค่อยกดลงตรงๆ นะครับ
  • สุดท้ายครับให้ลองทดสอบกดแป้นพิมพ์ที่ใส่กลับลงไป ถ้าใส่ถูกต้องจะต้องเหมือนก่อนแกะครับคือจะมีการเด้งคืนตัว ถ้าใส่ผิดจะยวบแล้วไม่เด้งคืนตัว ก็ให้แงะขึ้นมาใหม่แล้วใส่ลงไปให้ถูกต้องครับ
  • เท่านี้เราก็จะได้ Keyboard ที่สะอาดเหมือนใหม่ไว้ไช้กันครับ (หลังจากประกอบเสร็จกะว่าจะถ่ายภาพมาให้ดู เจ้ากรรมแบตฯ กล้องหมดซะก่อนครับ)

DVD Region

DVD Region : เป็นการกำหนดโซนนิ่งของการวางจำหน่าย dvd ในแต่ละภูมิภาค ที่จะวางจำหน่ายไม่พร้อมกัน .. เป็นเรื่องของการตลาดครับ แต่ว่าตรงนี้เลยมีผลกับ Super drive ที่มีอยู่ในเครื่อง Mac ของเราด้วย ที่ว่ามีผลคือ เราจะเปิดแผ่น DVD ได้ จะต้องมี Region ที่ตรงกับ ไดร์ฟที่เรามีในเครื่องเท่านั้น เช่น ในประเทศไทย หรือโซนเอเชีย จะมี Region =3 ที่จะเปิดดูแผ่น DVD ที่มี Region = 3 ได้เท่านั้น..

โดยส่วนใหญ่แล้ว เครื่อง Mac ที่ซื้อในภูมิภาคไหน ก็จะมี Region ที่ตรงกับแผ่น DVD ที่มีขายอยู่ภายในภูมิภาคนั้น.. แต่ก็อาจะจะมีบางแผ่น DVD ที่มี Region ไม่ตรงกับ Drive ที่เรามีเหมือนกัน ส่วนใหญ่แล้วสามารถพบได้ทั่วไป ดังนั้นเราควรจะเชค Region ของแผ่นก่อนที่เราจะเช่า / ซื้อมาดูบนเครื่อง Mac ของเรานะครับ

ทีนี้ ถ้าเราต้องการเปิดแผ่น DVD จาก Region อื่น ๆ ล่ะ? ถ้าเราย้ายบ้าน หรือว่าซื้อเครื่องมาจากต่างประเทศทำให้ Super drive มี Region ที่ไม่ตรงกับแผ่นที่เราต้องการจะเปิดล่ะ?

ถ้าใส่ DVD ที่มี Region ไม่ตรงกับ drive ที่เรามี เช่น เราซื้อเครื่องมาจากอเมริกา (Region=1) แล้วนำกลับมาใช้ในประเทศไทย (Region=3) แล้วต้องการที่จะเล่นแผ่น DVD ที่ซื้อจากในประเทศไทย (Region =3) เราจะถูกขึ้นเตือนมาตามภาพนี้ครับ ซึ่งจะถามเราว่าต้องการจะเปลี่ยน Region ของ super drive ในเครื่องเราให้เป็น Region ใหม่ตามแผ่น DVD ที่เราจะเปิดหรือไม่?..

dvdzone-01-1.jpg

ภาพตัวอย่างกล่องข้อความเตือนในกรณีที่เราต้องการจะเปิดแผ่น DVD ที่มี Region ไม่ตรงกับไดร์ฟที่เรามีในเครื่อง

(อ้างอิงจากบน 10.5.5 สำหรับ OS X เวอร์ชั่นอื่นรูปแบบ อาจจะแตกต่างจากนี้ แต่หลักการเดียวกัน)

ตามปรกติเราจะกำหนดให้เปลี่ยน Region ของ Super drive ภายในเครื่องเราได้ไม่เกิน 5 ครั้งนะครับ มีวิธีการนับแบบนี้

เปลี่ยนจาก Region 3 ไป Region 1 นับเป็น 1 ครั้ง.. ดังนั้น ถ้าเราเปลี่ยนจาก Region 3 ไปเป็น Region 1 แล้วกลับมาเป็น Region 3 ใหม่อีกรอบ จะนับว่าเปลี่ยนไป 2 หน -*-

การเปลี่ยน DVD Region ให้กับ Super Drive ในเครื่อง Mac
หลังจากที่เราใส่แผ่นที่มี Region ไม่ตรงกับ drive ที่มีในเครื่องของเราแล้ว..

dvdzone-01.jpg

  1. Current Drive Region : บอกว่าตอนนี้สถานะของ drive ปัจจุบันเป็น Region ไหนอยู่
  2. Select New Region For Drive : เลือกกำหนด Region ใหม่ให้กับ drive
  3. คลิ๊กรูปกุญแจ เพื่อทำการปลดล๊อก (จะมีหน้าต่างให้เราใส่ login กับ password ของ account เราเพื่อยืนยัน)
  4. หลังจากยืนยันในขึ้นตอนที่ 3 แล้ว จะมีปุ่มให้เราเลือก Set Drive Region ขึ้นมาเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงครับ

Ram - เกี่ยวกับ RAM

RAM หรือหน่วยความจำภายในเครื่อง ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่กำลังถูกใช้งานอยู่ หรือเพิ่งถูกใช้งานไปล่าสุด ช่วยให้ระบบทำการเข้าถึงข้อมูลหรือว่า application ต่าง ๆ ทำงานได้อย่างราบรื่น

บน OS X เราสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานะการทำงานของ RAM ในภาวะต่าง ๆ ได้จากใน Activity Monitor (Application/Utilities) แล้วดูในส่วนของ System Memory

activity-monitor.jpg

หน้าตาของ Activity Monitor ที่จะแสดงสถานะการทำงานทั้งหมดของเครื่องเรา สามารถเลือกปิดการทำงานของ app หรือ process ต่าง ๆ ได้จากตรงนี้ (คล้ายกับบน windows pc)

System Memory
เป็นส่วนแสดงผลเกี่ยวกับ RAM บนเครื่องเราในสถานะต่าง ๆ

system-memory.jpg

อธิบาย

note :

VM Size : หมายถึง Virtual Memory (ความจำเสมือน): เป็นตัวเลขบอกถึงสถานะของข้อมูลที่ถูกบรรจุลงใน RAM หรือว่า HD ของเรา(ถ้าระบบต้องการ) ซึ่งความจำเสมือนนี้บางที่ก็มีขนาดที่ใหญ่กว่า RAM จริง ๆ ที่เรามีอยู่บนเครื่องได้ โดยปรกติแล้ว ถึงความจำเสมือนจะมีขนาดใหญ่ แต่การนำข้อมูลมาจำลองเป็นหน่วยความจำเสมือนบน HD นี้จะช้ากว่าข้อมูลที่เข้าออกจาก RAM โดยตรง

note : สำหรับคนที่พื้นที่บน HD เหลือน้อยอาจจะพบปัญหาการทำงานของ OS หรือว่า app ต่าง ๆ ได้ เพราะพื้นที่ให้สำหรับ Virtual Memory / Swap file ไม่เพียงพอ

Page ins/outs : เป็นตัวเลขที่บอกถึงจำนวนครั้งที่ระบบทำการย้ายข้อมูลไปมาระหว่าง RAM กับ HD
Swap Used : แสดงพื้นที่ของ HD ที่ถูกใช้จริง ๆ ในการนำไฟล์เข้าออกระหว่าง HD กับ RAM แล้ว (ถ้ามีตรงนี้เยอะ แนะนำให้เพิ่ม RAM ครับ)

อ่านเพิ่มเติม
http://support.apple.com/kb/HT1342
http://developer.apple.com/documentation/Performance/Conceptual/ManagingMemory/Articles/AboutMemory.html

มือใหม่ต้องเจอ : Ram.... Premium or Value??

" Ram หมด ที่ให้มากับเครื่องไม่พอแล้ว เพิ่มแรมดีกว่า ว่าแต่จะซื้อยังไง แบบไหนดีล่ะ "

หลายคนเข้าใจผิดครับ ว่า Ram หรือ Part ต่างๆนั้นต้องมาจากโรงงาน Apple โดยตรง
หรือต้องเป็น Spec เฉพาะของ Mac เท่านั้นใช้รวมกับ PC ไม่ได้
บางครั้งก็โดนการให้ข้อมูลผิดๆของคนขาย ทำให้เกิดการเข้าใจผิดและก็ไม่กล้าใช้ของดีราคาถูกกัน
โดยมักจะได้ยินว่าต้องหา Ram รหัสนั้นรหัสนี้ถึงใช้ได้ ยี่ห้อนี้เท่านั้น หรือต้องจาก Apple โดยตรง

ความจริงคือ
Ram Premium grade ที่เค้าแนะนำให้ใส่นั้น มันไม่ได้ต่างอะไรกับ Value grade เลยครับ
เพียงแต่มันได้รับการทดสอบที่มีมาตรฐานสูงกว่าเพื่อส่งให้ผู้ผลิต Computer โดยตรง
หรือได้รับการทดสอบการใช้งานที่มากกว่า ละเอียดกว่า ทำให้มันไม่ค่อยเจอปัญหา

Value grade ที่ขายกันถูกๆ มันก็ไม่ได้ต่างอะไรกันในเรื่องการใช้งานครับ ใส่ไปก็เห็นเหมือนกัน
ใช้งานได้เต็มที่เหมือนกัน เพียงแต่ว่ามันไม่ได้ไปผ่านการทดสอบหฤโหดมา ทำให้ในบางครั้ง
ก็เจอว่าใส่แล้วมีปัญหา หรือได้ Ram เสียมา เพราะมันเป็นอย่างนี้ จึงมีการให้เคลมสินค้าครับ

เรื่อง Brand ก็เหมือนกัน ใครว่าต้องใช้ยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้ จริงๆก็ไม่ได้เกี่ยวกันเท่าไร
Apple ไม่ได้มีใครผลิตให้เฉพาะเจาะจงครับ ถ้าใครเคยเปิดเครื่องมาดูเอง แล้วเอามาเทียบกับ
เครื่องอื่นๆ อาจจะได้ Ram คนละยี่ห้อกันก็ได้

แล้วจะทำไงดี จะเลือกยังไง?
จะใส่ Premium หรือ Value ก็ไม่ใช่เรื่องผิดครับ ถ้ามีเงินจะเอา Premium ก็ได้ถ้าสบายใจ
แต่ถ้าเน้นประหยัด กลัวกระเป๋าฉีก Value ก็เป็นทางเลือกที่ดีครับ เลือก Bus ให้เข้ากับ mainboard
ก็พอครับ สูงกว่าได้แต่อย่าต่ำกว่า (แต่สำหรับ Mac pro ต้อง Ram สำหรับ Server เท่านั้นนะครับ
อย่าลืม)

ส่วน Brand ก็อะไรก็ได้ ตามแต่จะนิยมชมชอบครับ ดูระยะเวลาประกันด้วย
จะช่วยตัดสินใจได้มากครับ

เวลาไปซื้อก็เอาเครื่องไปด้วยเลย(อันนี้ยกเวัน iMac กับ Mac pro นะครับ ขืนยกไปมีแตกตื่นแน่)
หาไขควงไปให้พร้อม(ผมไปที่ร้านแล้วต้องวิ่งไปซื้อไขควงครับ ที่ร้านมีแต่ใหญ่ไป ฮ่า อายสุดๆ)
แล้วอย่าลืมเปิดดูที่นี่สำหรับวิธีการเปลี่ยน Ram ที่ถูกต้องครับ เลือกรุ่นแล้วไปดูได้
www.ifixit.com 

เครื่องแรงจงสถิตกับท่าน!!!!

เกี่ยวกับ Battery

เกี่ยวกับ Apple Notebook Battery (Lithium-ion)
จากหน้าเวปของ Apple เองบอกเอาไว้ว่า battery แบบ lithium-ion ของ Apple เองนั้นมีคุณสมบัติทั่วไปเหมือนกับ battery แบบ lithium-ion ที่พบเห็นอยู่ในอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จะมีวันหมดอายุครับ (เสื่อมสภาพจนไม่เก็บไฟแล้ว ทำให้เราต้องซื้อใหม่)

ทั่วไปเกี่ยวกับ Lithium-ion
โดยทั่วไป battery แบบ Lithium-ion นั้นจะเก็บประจุได้มากกว่า battery แบบ nickel ที่เราเคยใช้อยู่ในอุปกรณ์อิเล็คโทรนนิกรุ่นเก่า ที่ต้องคอยชาร์จให้เต็มและใช้ให้หมดเป็นรอบ ๆ ไป ซึ่งนอกจาก Lithium-ion จะเก็บประจุได้มากกว่าและน้ำหนักเบากว่าแล้ว ยังสะดวกกว่าในการชาร์จด้วย เพราะเราสามารถชาร์จไฟเมื่อไหร่ก็ได้ตามที่เราสะดวก ไม่ต้องชาร์จเป็นรอบ ๆ เหมือนแต่ก่อน

การชาร์จไฟโดยทั่วไปบน Battery แบบ Lithium-ion
ส่วนมากแล้ว Battery แบบ Lithium-ion จะใช้การ  "Fast charge"  ที่ทำให้ชาร์จไฟเต็มที่ไปจนถึง 80% ของความจุ battery ก่อนแล้วค่อย ๆ เติมประจุจนเต็ม 100% ทีหลังอย่างช้า ๆ คือประมาณว่า เราจะเสียเวลาชาร์จ iPod จนมีความจุ battery ที่ 80% โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชม. และจะใช้เวลาอีกประมาณ 2 ชม.หลังจากนั้นเพื่อชาร็จ battery จนเต็มความจุที่ 100% ถ้าเราไม่ได้ใช้ iPod ไปด้วยระหว่างที่ชาร์จ จะทำให้สามารถชาร์จได้เต็มความจุเร็วขึ้นโดยใช้เวลาที่สั้นลง

Charge Cycle
การนับรอบของการชาร์จบน lithium-ion battery นั้น จะนับความจุที่เราชาร์จไปแต่ละครั้ง แล้วนำมาบวกกันให้ครบ 100% จะนับเป็นการชาร์จ 1 cycle หรือ 1 รอบครับ เช่น

เราชาร์จแบตของ iPod เรามาเต็ม แล้วใช้หมดไปครึ่งหนึ่ง (50%) แล้วกลับมาชาร์ใหม่ให้เต็มใหม่ก่อนนอน  - - แบบนี้นับเป็นครึ่งรอบ .. ถ้าวันต่อมาเราทำซ้ำแบบเดิมอีก ถึงจะนับเป็นการชาร์จเต็ม 1 รอบครับ (50% +50% =100% นับเป็น 1 รอบชาร์จ)

การชาร์จดครบ 1 รอบคือ การชาร์ไฟครบ 100% ของความจุ ไม่ว่าจะชาร์จแบบ 0-100% ในครั้งเดียว หรือทะยอยชาร์จครั้งละนิดละหน่อย ก็จะถูกนับมารวมกันให้ได้ 100% แล้วตัดเป็น 1 รอบการชาร์จครับ

batt-cycle-1_0.jpg

ตัวเลขใน System Profiler ของ Battery Health ที่บอกจำนวนเป็น Cycle นั้นอธิบายตรงนี้ครับ

batt-profile_0.jpg

อายุ Battery
ตามธรรมชาติแล้ว ทั้ง battery ของ notebook, iPod, iPhone จะสามารถเก็บความจุได้ลดลง ตามจำนวนรอบการชาร์จที่มากขึ้น โดยข้อมูลจากในเวป Apple แล้ว Battery จะยังสามารถเก็บความจุได้ที่ 80% หลังจากผ่านการชาร์จไปสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งแตกต่างกันตามประเภทของ battery ดังนี้ครับ

ที่มา

http://www.apple.com/batteries/
เกี่ยวกับ โน๊ตบุค battery ของ Apple
http://www.apple.com/batteries/notebooks.html
เกี่ยวกับ battery ของ iPod, iPhone
http://www.apple.com/batteries/ipods.html

[แก้ไขเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2551 : ขยายความเกี่ยวกับเรื่องรอบการชาร์จ cycle count ครับ]

การ Calibrate Battery

การ Calibrate Battery
ภายในตัวของ Battery ที่เราใช้อยู่ จะมี micro processor ที่จะคอยบอกกับเครื่องให้แสดงผลบนหน้าจอเราว่า ตอนนี้ Battery เหลืออยู่หรือว่าใช้ไปแล้วเท่าไหร่ .. การ Calibrate Battery คือคล้าย ๆ กับการ reset ตัว micro processor ตัวนี้ ให้ประมวลผลค่าต่าง ๆ ของ battery ได้ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ Notebook ควรจะทำอย่างสม่ำเสมอครับ

วิธี Calibrate Battery สำหรับผู้ใช้ MacBook, MacBook Pro (10.5)

1.เสียบปลั๊กเข้ากับไฟบ้าน และชาร์จจนเต็ม

2.หลังจากสถานะของ Battery เต็มแล้วให้เสียบปลั๊กค้างเอาไว้ต่อไปสัก 1- 2 ชม. (จะทำงานต่อไปบนเครื่องก็ได้)

3.ให้ถอดปลั๊กที่ต่อตรงกับไฟบ้านออก (ไม่ต้องปิดเครื่อง ดึงปลั๊กออกมาได้เลย) ให้เครื่องเริ่มทำงานโดยใช้ไฟจาก Battery จนไฟที่ชาร์จเอาไว้เกือบจะหมด.. จะมีหน้าต่างเตือนเราขึ้นมาว่าไฟใน Battery เหลือน้อยแล้ว

4.ให้เปิดเครื่องต่อไปและให้ใช้งานต่อไปจนกว่าเครื่องจะดับ หรือว่า Sleep ไปเอง (ถ้าเรายังทำงานอะไรค้างอยู่ให้ save และปิด app ที่ใช้อยู่ให้หมด ก่อนที่เครื่องจะดับครับ ..)

5.ปิดเครื่อง หรือปล่อยให้เครื่อง Sleep ต่อไปสัก 5 ชม. หรือกว่านั้น

6.เสียบปลั๊กต่อไฟเข้ากับเครื่อง แล้วปล่อยให้ชาร์จไฟทิ้งไว้จนกว่าจะ Battery จะเต็มอีกครั้ง (สามารถใช้เครื่องทำงานไปได้ในระหว่างนี้)

note :

  • ควรจะทำการ Calibrate ตามขึ้นตอนด้านบนนี้อย่างน้อยทุก 2 เดือนหรือเร็วกว่านั้น เพื่อให้ Battery ทำงานได้อย่างถูกต้อง และสำหรับผู้ที่ใช้เครื่องไม่ค่อยบ่อย ให้ Calibrate Battery อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  • ถ้าใครซื้อ Battery สำรองมาใช้ด้วย .. ให้ทำการ Calibrate Battery สำรองนั้นด้วย

ที่มา

สำหรับผู้ใช้ 10.5
http://docs.info.apple.com/article.html?path=Mac/10.5/en/9036.html
สำหรับผู้ใช้ 10.4
http://docs.info.apple.com/article.html?path=Mac/10.4/en/mh2339.html
เกี่ยวกับการ Calibrate (ข้อมูลเพิ่มเติม และสำหรับเครื่องรุ่นเก่า)
http://support.apple.com/kb/HT1490

การดูแลรักษา Battery ของ Notebook

การดูแลรักษา Battery ของ Apple Notebooks

1.เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม (ใกล้เคียง 22 องศา C ได้จะดีมาก)

2.ให้แน่ใจว่า ชาร์จให้เต็มในการต่อไฟบ้านครั้งแรก และทำการ update software ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด เพราะ apple จะออกตัว update ที่ปรับปรุงการทำงานของ battery ให้ดีขึ้นเป็นระยะ ๆ

3.การดูแลรักษาทั่วไป battery แบบ Lithium-ion จำเป็นที่จะต้องมีการหมุนเวียนของประจุ ** พูดให้ง่ายก็คือ เราควรที่จะใช้งานผ่าน battery บ้าง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของประจุภายในเซลของ battery ครับ

note : Apple แนะนำว่า ควรจะมีการชาร์จ และใช้ประจุบน battery นี้ให้เกิดขึ้นอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

4.ถ้าเราจะไม่ได้ใช้เครื่องเป็นเวลานาน ให้ถอด battery ออกมาเก็บไว้ ซึ่ง battery ที่เราถอดเก็บเอาไว้ ถ้าใน battery มีไฟอยู่ เมื่อเวลาผ่านไป เค้าจะค่อย ๆ คายประจุหรือสูญเสียความสามารถในการเก็บประจุไปบ้างเล็กน้อย เมื่อนำกลับมาใช้ใหม่ครับ

note : ต้องมีไฟเก็บอยู่ใน battery บ้าง หรืออย่างน้อย 50% เพราะถ้าเราเก็บ battery ก้อนเปล่าที่ไม่มีไฟไว้นาน ๆ อาจจะทำให้ battery สูญเสียการเก็บประจุไปเลยเป็นการถาวร

การใช้งานบน battery อย่างเต็มประสิทธิภาพ

  • ปรับการตั้งค่าต่าง ๆ จากใน Energy Saver (ดูการ เกี่ยวกับ Sleep ประกอบ)
  • ปรับความสว่างของหน้าจอ ให้สว่างน้อยลงแต่ยังอ่านได้ไม่ปวดตา
  • ปิด AirPort หรือ Bluetooth ที่ไม่ได้ใช้ (ถึงจะเปิดเอาไว้เฉย ๆ แต่ไม่ได้ทำอะไร ก็จะเปลือง battery ครับ)
  • ปิด Application ที่ไม่ได้ใช้ให้หมด
  • เอาแผ่น CD/DVD ออกจากใน Optical Drive ภายในเครื่อง
  • ถอดสาย USB จากอุปกรณ์เชื่อมต่อที่ไมได้ใช้ออก

อายุของ battery ของ Apple จากในเวปบอกเอาไว้ว่า Notebook Battery จะยังเก็บไฟได้ 80% โดยประมาณ หลังจากผ่านการชาร์จเต็มมาแล้ว 300 รอบ

การดูแลรักษา Battery ของ iPod,iPhone

การดูแลรักษา Battery ของ iPod,iPhone

1.เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม (ใกล้เคียง 22 องศา C ได้จะดีมาก - เหมือนกับ batt ของ notebook)

2.ให้แน่ใจ update software ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด เพราะ apple จะออกตัว update ที่ปรับปรุงการทำงานของ battery ให้ดีขึ้นเป็นระยะ ๆ

3.การดูแลรักษาทั่วไป battery แบบ Lithium-ion จำเป็นที่จะต้องมีการหมุนเวียนของประจุ ** พูดให้ง่ายก็คือ เราควรที่จะใช้งานผ่าน battery บ้าง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของประจุภายในเซลของ battery

note : Apple แนะนำว่า ควรจะมีการชาร์จ และใช้ประจุบน battery นี้ให้เกิดขึ้นอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

การใช้งานบน battery อย่างเต็มประสิทธิภาพ

  • ปุ่ม Hold / Pause : เลือก Pause เพื่อกันไม่ให้กดปุ่มแล้วให้ iPod ทำงานโดยไม่ตั้งใจ
  • ปรับความระยะเวลาของความสว่างหน้าจอ (Backlight) ให้ปิดเองเมื่อเวลาผ่านไปสักพัก จะช่วยประหยัด Battery ได้
  • ใช้ Equalizer ให้น้อยลง : เพราะการใช้งาน EQ จะไปทำให้ Processor ทำงานหนักขึ้น และกินไฟมากขึ้น ให้ปิด EQ ไปเมื่อไม่ได้ใช้ แต่ถ้า เราตั้ง EQ มาจากใน iTunes เลยให้เราปรับ EQ ไปที่ flat เพื่อที่จะหยุดการทำงานของ EQ ที่เราตั้งไว้จากใน iTunes

เกี่ยวกับ Momory บน iPod

ใน iPod ที่เป็น Hard disk นั้น จะเล่นเพลงจาก solid-state cache ภายในเครื่อง เพื่อการเล่นเพลงที่ต่อเนื่อง ไม่สะดุด โดยที่ Hard disk จะคอยหมุนอยู่เพื่อคอยเติมเพลงลงใน cache นี้ (ทุกครั้งที่ HD หมุน จะเป็นการใช้พลังงานเกิดขึ้นตรงนี้) และจากปัจจัยที่ทำให้ Hard disk หมุนนี้ ถ้าเราทราบ เราสามารถลดการทำงานตรงนี้ได้ = เป็นการยืดอายุ battery ไปได้ในขณะเดียวกัน

  • Fast Forward : การข้ามเพลงบ่อย ๆ  ทำให้ HD ต้องคอยหมุนบ่อยขึ้นเพื่อหาเพลงมาเติมใน cache ให้เรา เท่ากับเป็นการใช้ battery มากขึ้น วิธีการหลีกเลี่ยงตรงนี้คือ ให้สร้าง playlist ที่เราต้องการเอาไว้ หรือใช้คำสั่ง shuffle แทนการกด fast forward
  • Use Compressed Songs : cache จะทำงานได้ดีที่สุดกับไฟล์ที่มีขนาดเฉลี่ยประมาณไม่เกิน 9 MB ครับ ถ้ามีไฟล์ที่เป็นพวกต้นฉบับ AIFF หรือว่า WAV นี่ เราควรที่จะ Compress เค้านะครับ เพื่อให้ iPod ทำงานดีขึ้น (สามารถเลือกแปลงไฟล์ได้ตอนที่ Import เข้า iTunes) ถ้าเรา encode ไฟล์ที่ 128Kbps iPod จะทำงานเพื่อหาเพลงมาเติมใน cache ทุก ๆ ประมาณ 25 นาทีครับ =)

อายุของ battery ของ Apple จากในเวปบอกเอาไว้ว่า Battery ของ iPod/iPhone จะยังเก็บไฟได้ 80% โดยประมาณ หลังจากผ่านการชาร์จเต็มมาแล้ว 400 รอบ

note : สำหรับการชาร์จ iPod บางรุ่น จะทำให้เกิดความร้อนสะสมถ้ามี case อยู่ ทางที่ดี คือถ้าเราพบว่าเครื่องร้อนผิดปรกติตอนชาร์จ ให้ถอด case ออกก่อนชาร์จครับ

iPod : วิธีการใช้ Battery ให้คุ้มค่า

การใช้งาน battery บน iPod แบบคุ้มค่าครับ

http://support.apple.com/kb/HT1726?viewlocale=en_US

คร่าว ๆประมาณนี้
  • ปรับปุ่ม hold ค้างเอาไว้ กันการกดโดยไม่ตั้งใจ
  • เก็บรักษา iPod ในอูณหภูมิปรกติ และไม่ชาร์จขณะใส่เคสอยู่ (จะระบายความร้อนได้ช้าลง)
  • ชาร์จ iPod อย่างสม่ำเสมอแม้จะไม่ได้ใช้งานเป็นประจำ (ทุก ๆ 14-28 วัน)
  • เมื่อไม่ได้ใช้งาน ให้กด Pause เอาไว้
  • ปิดไฟ backlight กับ equalizer ทิ้ง
  • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนเพลง
  • ฟังเพลงที่ถูกบีบอัดมาแล้ว (เพลงใหญ่ ๆ จะทำให้ cache บน ipod ไม่พอเลยจะทำให้ hd หมุนหรือว่าทำงานอยู่เรื่อย ๆ ครับ ซึ่งตรงนี้จะกิน batt) 

 

เราควรถอด Battery ระหว่างใช้งาน Notebook หรือไม่?

เห็นในเวปบอร์ดของ Mac user ในเมืองไทยมีผู้ใช้หลาย ๆ ท่านตั้งคำถามเกี่ยวกับว่า เราควรที่จะถอด Battery แล้วใช้ไฟตรงในการทำงานกับเครื่อง Notebook เราเพียงอย่างเดียวหรือไม่? .. ส่วนใหญ่เหตุผลหลัก ๆ เลยคือต้องการที่จะยืดอายุของ Battery ให้นานที่สุด..

คำตอบของเรื่องนี้คือ .. เราไม่ควรและไม่มีความจำเป็นที่จะถอด Battery ออกระหว่างใช้งาน Notebook ของเราครับ เพราะ..

1.เรื่องความปลอดภัย - การมี Battery อยู่กับเครื่อง สามารถป้องกันปัญหาที่เกิดจากกระแสไฟตรงไม่สมำ่เสมอ จำพวก ไฟกระชาก, ไฟตก, ไฟเกินไม่ให้ทำความเสียหายกับ Notebook ของเราได้ เพราะเครื่องคอมฯ เป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างจะละเอียดอ่อนกับตรงนี้ค่อนข้างมาก และจากประสบการณ์ตรงของผมเอง เครื่อง Mac mini ผมพังเพราะไฟกระชากมาแล้วครับ...

2.ประสิทธิภาพการทำงาน - จากหน้าเวป support ของ apple ได้อธิบายตรงนี้ไว้ว่า การนำ Battery ออกนัั้น เครื่องที่ทำงานด้วยกระแสไฟตรงเพียงอย่างเดียว CPU จะทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพครับ (ไม่ 100%) และแนะนำว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำด้วยในภาวะการใช้งานปรกติ

3.เกี่ยวกับธรรมชาติการทำงานของ Battery เอง - เรื่องนี้อาจจะขัดกับความเข้าใจของคนส่วนใหญ่นะครับ แต่ที่จริงแล้ว cell ต่าง ๆ ใน Battery ต้องมีการใช้งานบ้างครับ ถึงจะรักษาสภาพ cell ให้ปรกติได้อยู่.. ถ้าเราไม่ใช้งาน Battery นาน ๆ เค้าอาจจะทำงานผิดปรกติ หรืออย่างแย่ที่สุดคือ cell ตายได้(ไม่เก็บไฟแล้ว) ดังนั้น เพื่อการทำงานของ Battery ที่ควรจะเป็น ก็ให้เราใช้เครื่องโดยที่ยังมี Battery ติดอยู่ในเครื่องของเราตามปรกติล่ะครับ และเปลี่ยนเมื่อ Battery ตามอายุขัยของเค้าจะดีที่สุด (เมื่อหมดอายุ หรือเก็บไฟได้น้อยเกินกว่าที่เราจะรับได้)

เครื่องรุ่นต่าง ๆ ของ Mac และประวัติคร่าว ๆ (ภาษาไทย) บน wikipedia

บังเอิญค้นพบครับ คิดว่าเอามาเก็บไว้ดีกว่า เขียนเอาไว้อ่านง่ายดีครับ =)

ประวัติความเป็นมา และเครื่องรุ่นต่าง ๆ ตามปีของ Mac เป็นภาษาไทยบน wikipedia ครับ

เปรียบเทียบราคาของ Apple Store ในประเทศต่าง ๆ

เปรียบเทียบราคาจาก Apple Online Store จากหลาย ๆ ชายในภูมิภาคเอเชียครับ เป็นเนื้อหาที่ผมเคยเขียนเอาไว้ใน Mac 101 แล้ว ก็ได้รวบรวมมาไว้ในนี้จะได้ค้นหาอ่านได้สะดวกขึ้น

คลิ๊กที่ link ด้านล่างโพสนี้ได้เลยครับ =)

เปรียบเทียบราคาของ Apple Store [Thailand, Hongkong, Japan, Singapore, Malaysia]

ผมเคยสงสัย และมีหลายคนถามว่า จะซื้อ Mac ที่ต่างประเทศถูกกว่า ?

ผมเลยอยากจะลองเปรียบเทียบราคา Mac จากใน Apple Store ของแต่ละประเทศดูครับจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ว่าปัจจุบันนี้ ความเชื่อที่ว่า Mac ที่ขายในต่างประเทศนั้น ถูกกว่าประเทศไทยจริงหรือเปล่า? (หลังจากทำข้อมูลทั้งหมดนี้เสร็จแล้ว ผมค้นพบข้อเท็จจริงบางอย่าง ที่อาจจะทำให้คุณแปลกใจครับ)

มีจุดประสงค์หลัก ๆ คือเอาไว้อ้างอิงสำหรับตัวผมเองครับ แต่ใครจะนำข้อมูลในตารางต่าง ๆ ไปประกอบการตัดสินใจด้วยก็ได้ เนื้อหาโดยรวมจะเป็นการเปรียบเทียบเป็นหัวข้อ ๆ ไปนะครับตามนี้ (สามารถคลิ๊กที่หัวข้อเพื่อไปยังตารางที่เกี่ยวข้องได้จากตรงนี้ครับ)

  • Notebook
    • MacBook
    • MacBook Air
    • MacBook Pro
  • Desktop
    • Mac mini
    • iMac
    • Mac Pro
    • Apple Cinema Display (ทั้งตัวใหม่ และตัวเก่า)
  • iPod
    • iPod Shuffle
    • iPod Nano
    • iPod Classic
    • iPod Touch
  • Software
    • OS X Leopard
    • iLife ’08 (Single/Family pack)
    • iWork ’08 (Single/Family pack)
    • AppleCare
    • MobileMe (Single/Family pack)
    • Software อื่น ๆ จากทาง Apple

โดยอาศัยที่มาของราคาจะอ้างอิงจากใน Apple Store ของแต่ละประเทศดังนี้ครับ

note :

  1. บทความนี้อยู่บนฐานความเชื่อที่ว่าแต่ละประเทศจะมีนโยบายสำหรับร้านย่อยที่จะขายราคาประมาณเดียวกับใน Apple Store ของประเทศนั้น ๆ ซึ่งอาจจะซื้อได้ถูก หรือแพงกว่าก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ราคาจะไม่หนีกัน มากนัก เอามาเป็นเลขราคาเฉลี่ยก่อนการซื้อจากร้านค้าจริงได้ ไม่แค่เฉพาะสำหรับ online store เท่านั้น
  2. สำหรับ Notebook และ Desktop จะลงรุ่นตาม spec พื้นฐานที่มีให้เลือกซื้อได้จากในเวป Apple Store นะครับ
  3. ไม่มีราคา iPhone นะครับ เพราะยังไม่มีการนำเข้ามาขายอย่างเป็นทางการ และเงื่อนไขการซื้อแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน ทำให้การบินไปซื้อไม่สามารถมากระทำได้โดยสะดวกผมเลยขอตัดไปก่อน
  4. ผมทำตารางนี้เพื่ออ้างอิงส่วนตัว และไม่ขอรับประกันความถูกต้องใดใดที่มีอยู่ในตารางนะครับ จะดีที่สุดถ้าจะตรวจสอบราคาขายจริงจากเวปอีกทีก่อนจะซื้อจริงครับ
  5. ค่าของเงินมาจากอัตราแลกเปลี่ยน (อัตราขาย) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันที่ผมสุ่มขึ้นมา ซึ่งตอนเขียนบทความเป็นวันพฤหัสที่ 6 ธค. 2551 ครับ
  6. ปรกติอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละธนาคาร จะมีตัวเลขอยู่ 2 ชุด คือ
    • อัตรารับซื้อ : ใช้เวลาที่เราเอาเงินสกุลต่างประเทศไปแลกเป็นเงินบาท ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวแล้วต้องการแลกเงินเป็นเงินบาท
    • อัตราขาย : ใช้เวลาเราเอาเงินบาท ไปแลกเป็นเงินสกุลต่างประเทศ ซึ่งผมจะใช้ตัวเลขอ้างอิงของเงินที่แปลงเป็นงานบาททั้งหมดในตารางจากตรงนี้นะครับ เพราะเป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่เราจะต้องใช้สำหรับคนไทยที่จะเดินทางออกไปชอปปิ้งในต่างประเทศครับ

Desktop : ตารางเปรียบเทียบราคา Apple Store [TH, HK, JP, SG, MY]

ตารางเปรียบเทียบราคา Desktop รุ่นต่าง ๆ จาก Apple Store ของแต่ละประเทศเป็นเงินบาท

  • ราคาสูงที่สุด - สีแดง
  • ราคาต่ำที่สุด - สีน้ำเงิน

อัตราแลกเปลี่ยน

Hongkong (HKD)
Japan (JPY : Yen)
Singapore (SGD)
Malyasia (MYR : RM)
4.6089
0.38428
23.4167
10.1282

Mac Mini

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
1.83GHz/1/80 20,900 21,661 30,665 22,199 21,259
2.0GHz/1/120 26,990 29,036 38,351 30,160 28,348

Spec = CPU speed/Ram(GB)/HDD(GB)

iMac

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
2.4GHz/1/250/128[20“] 41,990 43,323 53,722 44,210 42,528
2.66GHz/2/320/256[20”] 49,990 54,385 65,250 55,919 52,656
2.8GHz/2/320/256[24“] 61,990 64,985 76,779 65,285 63,797
3.06GHz/2/500/512[24“] 77,990 81,577 93,994 83,082 81,015

Spec = CPU speed/Ram(GB)/HDD(GB)/Graphic Card(MB)/Display Size

Mac Pro

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
2x2.8GHz/2/320/256[15“] 102,900 105,543 134,421 107,435 99,246

สำหรับ Mac Pro จะใช้ Standard Spec ตามที่มีในเวปนะครับ = CPU speed/Ram(GB)/HDD(GB)/Graphic Card(MB)

Apple Cinema Display

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
New 24” LED 32,900 31,801 37,966 33,907 36,451
20“ 23,900 22,122 29,128 23,369 22,271
30” 73,900 66,368 88,307 71,374 65,823

สรุป
ประเทศที่ขาย Desktop แพงที่สุดคือ

  1. ประเทศญี่ปุ่น ติดอันดับทุกรายการ

ประเทศที่ขาย Desktop ถูกที่สุด คือ

  1. ประเทศไทยครับ มี 6 จาก10 รายการ หรือ 60.0%
  2. ประเทศฮ่องกง มี 2 รายการคือ New LED 24“ กับ Cinema Display ขนาด 20” ตัวเก่า คิดเป็น 20%
  3. ประเทศมาเลเชีย มี 2 รายการเท่ากัน คือ Mac Pro และ Cinema Display 30“ คิดเป็น 20%

Notebook : ตารางเปรียบเทียบราคา Apple Store [TH, HK, JP, SG, MY]

ตารางเปรียบเทียบราคา Notebook รุ่นต่าง ๆ จาก Apple Store ของแต่ละประเทศเป็นเงินบาท

  • ราคาสูงที่สุด - สีแดง
  • ราคาต่ำที่สุด - สีน้ำเงิน

อัตราแลกเปลี่ยน

Hongkong (HKD)
Japan (JPY : Yen)
Singapore (SGD)
Malyasia (MYR : RM)
4.6089
0.38428
23.4167
10.1282

MacBook

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
2.1GHz/1/120[white] 37,900 35,949 44,115 37,185 37,464
2.0GHz/2/160[alu] 48,900 47,010 57,180 48,894 48,605
2.4GHz/2/250[alu] 59,900 57,611 71,014 60,602 59,746

Spec = CPU speed/Ram(GB)/HDD(GB)

MacBook Air

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
1.6GHz/2/120 66,900 64,063 82,543 67,627 66,835
1.86GHz/2/128[SSD] 93,900 88,490 114,822 93,385 91,143

Spec = CPU speed/Ram(GB)/HDD(GB)

MacBook Pro

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
2.4GHz/2/250/256[15“] 73,900 70,977 87,923 74,652 72,912
2.53GHz/4/320/512[15“] 91,900 88,490 110,980 93,385 91,143
2.5GHz/4/320/512[17“] 102,900 99,091 122,508 102,752 102,284

Spec = CPU speed/Ram(GB)/HDD(GB)/Graphic Card(MB)

สรุป
ประเทศที่ขาย Notebook แพงที่สุดคือ

  1. ประเทศญี่ปุ่น ติดอันดับทุกรายการ

ประเทศที่ขาย Notebook ถูกที่สุด คือ

  1. ฮ่องกงครับ ทุกรายการ [ขอบคุณ ๆ tongtong ที่ท้วงมาว่าผมไฮไลท์ผิดนะครับ ตอนนี้แก้ให้แล้ว - ก๊อก]

Software : ตารางเปรียบเทียบราคา Apple Store [TH, HK, JP, SG, MY]

ตารางเปรียบเทียบราคา iPod รุ่นต่าง ๆ จาก Apple Store ของแต่ละประเทศเป็นเงินบาท

  • ราคาสูงที่สุด - สีแดง
  • ราคาต่ำที่สุด - สีน้ำเงิน

อัตราแลกเปลี่ยน

Hongkong (HKD)
Japan (JPY : Yen)
Singapore (SGD)
Malyasia (MYR : RM)
4.6089
0.38428
23.4167
10.1282

OS X Leopard

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
Single User 5,690 4,608 5,687 5,573 5,053
Family Pack 8,590 6,913 8,761 8,640 7,869

จากที่เขียนบทความนี้ เป็นเวอร์ชั่น 10.5.4 ครับ

iLife ‘08

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
Single User 3,190 2,719 3,765 3,465 3,129
Family Pack 3,990 3,456 4,534 4,191 3,838

iWork ‘08

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
Single User 3,190 2,719 3,765 3,465 3,129
Family Pack 3,990 3,456 4,534 4,191 3,838

AppleCare

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
MacBook/MacBook Air 8,890 8,572 12,104 10,443 8,598
MacBook Pro 12,390 12,029 16,949 14,729 12,143
Mac mini 4,990 5,161 8,069 5,901 5,053
iMac 5,990 5,807 8,646 7,095 6,066
Mac Pro 8,990 8,572 12,104 10,443 8,598
Support-Xserve 36,900 34,151 43,900 41,705 32,400
iPod shuffle/nano 1,390 1,336 1,844 1,615 1,306
iPod touch/classic 2,290 2,027 2,743 2,575 2,015
Apple Display 3,390 3,410 4,611 4,027 3,534
Apple TV 1,690 1,797 2,459 1,849 1,711

นับเฉพาะรายการของ AppleCare ที่มีอยู่ขายใน Thailand เท่านั้นครับ มีบางรายการที่มีขายในต่างประเทศ แต่ไม่มีในบ้านเราผมก็จะไม่มีอยู่ในตารางนี้

MobileMe

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
Single User 3,190 3,456 3,765 3,465 3,332
Family Pack 4,890 5,300 5,994 5,339 5,155

Software อื่น ๆของ Apple

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
QuickTime 7 Pro 1,391 1,106 1,306 1,287 1,306
Aperture 7,290 7,365 9,145 7,680 7,079
FinalCut Express 4 8,390 7,365 9,145 8,640 7,889
Logic Express 8 8,390 7,365 9,145 8,640 7,889
GB Jam Pack 5,029 3,456 4,150 4,706 4,142

GarageBand Jam Pack แต่ละ Pack จะมีราคาเกือบเท่ากัน และราคา software ในตารางเป็นแบบซื้อตัวเต็มใหม่ ไม่ใช่ upgrade

สรุป
ประเทศที่มี Software ขายแพงมากที่สุดคือ

  1. ประเทศญี่ปุ่น ติดอันดับ 20 จาก 23 รายการ คิดเป็น 87%
  2. ประเทศไทย ติดอันดับ 3 รายการคือ GarageBand Jam Pack, QT Pro และ OS X Leopard แบบ Single license คิดเป็น 13 %

ประเทศที่มี Software ขายถูกที่สุด คือ

  1. ประเทศฮ่องกง ที่ 14 จาก 23 รายการ คิดเป็น 60%
  2. ประเทศไทย มี 5 รายการ คิดเป็น 21%
  3. ประเทศมาเลเชีย มี 4 รายการ คิดเป็น 19%

iPod : ตารางเปรียบเทียบราคา Apple Store [TH, HK, JP, SG, MY]

ตารางเปรียบเทียบราคา iPod รุ่นต่าง ๆ จาก Apple Store ของแต่ละประเทศเป็นเงินบาท

  • ราคาสูงที่สุด - สีแดง
  • ราคาต่ำที่สุด - สีน้ำเงิน

อัตราแลกเปลี่ยน

Hongkong (HKD)
Japan (JPY : Yen)
Singapore (SGD)
Malyasia (MYR : RM)
4.6089
0.38428
23.4167
10.1282

iPod shuffle

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
1GB 2,290 1,705 2,228 1,826 1,914
2GB 3,190 2,442 2,997 2,529 2,623

ทุกสีราคาเท่ากัน

iPod nano

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
8GB 6,290 5,300 6,840 5,807 6,066
16GB 8,290 7,143 9,145 7,680 8,092

ทุกสีราคาเท่ากัน

iPod classic

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
120GB 9,990 8,756 11,451 9,319 10,118

ทั้งสองสีราคาเท่ากัน

iPod touch

Spec Thailand Hongkong Japan Singapore Malaysia
8GB 8,890 8,526 10,682 9,085 9,611
16GB 11,490 11,061 13,757 11,661 12,447
32GB 15,290 14,287 18,368 15,174 16,498

สรุป
ประเทศที่ขาย iPod แพงที่สุดคือ

  1. ประเทศญี่ปุ่น ติดอันดับ 6 จาก 8 รายการ คิดเป็น 75%
  2. ประเทศไทย ติดอันดับ 2 รายการคือ iPod Shuffle (ทั้งสองโมเดล) คิดเป็น 25%

ประเทศที่ขาย iPod ถูกที่สุด คือ

  1. ประเทศฮ่องกง ในทุกรายการ